ม.มหิดล ริเริ่มเรียนแล็บออนไลน์ ท้าทายโลกของการเรียนรู้ด้ วยตนเอง
วิกฤติ Covid-19 ทำให้ทุกสถาบันการศึกษาจำเป็นต้ องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบปฏิ บัติการ (lab) ออนไลน์ นับเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ จำเป็นในช่วงวิกฤตินี้ ซึ่ง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะเภสัชศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคั ญในการสร้างเสริมทักษะพื้นฐานที่ จำเป็นเพื่อไม่ให้นักศึกษาขาดช่ วงฝึกปฏิบัติ จึงได้ริเริ่มออกแบบ “การเรียนแล็บออนไลน์” ต้อนรับการเปิดภาคการเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2563 นี้
รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของเชื้ อไวรัส Covid-19 ระลอกใหม่ คณะฯ ได้ตัดสินใจและแจ้งให้นักศึ กษาทราบตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2563 ว่า การเรียนในภาคการเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2563 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 จะดำเนินการผ่านการเรียนออนไลน์ ทั้งหมด จนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ความท้าทายที่สุดของการเรี ยนออนไลน์ คือ วิชาปฏิบัติการ ซึ่งปกติเป็นการเรียนในห้องปฏิ บัติการกับเครื่องมือวิ ทยาศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือทำ และเสริมสร้างให้เกิดทักษะ (skills)

จากความรู้ที่ได้เรี ยนในทางทฤษฎี จากการระดมสมองหารือกั นภายในคณะฯ จึงได้ออก 3 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1. การจัดรูปแบบการเรี ยนการสอนแบบปฏิบัติการ (lab) ออนไลน์ ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรจตุรงค์ ประเทืองเดชกุล หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา ได้เป็นแกนนำในการริเริ่มส่งอุ ปกรณ์เรียนแล็บออนไลน์ให้นักศึ กษาทางไปรษณีย์ ให้นักศึกษาได้ทดลองประกอบการศึ กษาคู่มือและคลิปวิดีโอการสอน เพื่อฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน 2. ปรับลำดับของหัวข้อการเรียนปฏิ บัติการที่ต้องใช้เครื่องมื อขนาดใหญ่และสำคัญกับทักษะวิ ชาชีพไปไว้ช่วงปลายเทอม ซึ่งเมื่อสถานการณ์การระบาดดีขึ้ นนักศึกษาจะได้เข้ามาใช้เครื่ องมือเหล่านั้นได้ และ 3.เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น และได้กลับมาเรียนตามปกติ จะจัดให้มีการทำแล็บซ้ำเพื่ อทบทวนและเสริมทักษะของนักศึ กษาโดยเฉพาะทักษะที่สำคัญของวิ ชาชีพ
“ขอให้ทุกท่านเชื่อมั่ นในมาตรการที่ทางมหาวิทยาลัยมหิ ดล กำหนดให้คณะเภสัชศาสตร์ และทุกคณะจำเป็นต้องเรี ยนออนไลน์ เนื่องจากเราคำนึงถึงความปลอดภั ยของนักศึกษาและครอบครัว รวมถึงทุกคนในสังคมไทยเป็ นประการสำคัญ ซึ่งการเรียนออนไลน์จะทำให้นั กศึกษาได้มีโอกาสฝึกทักษะพื้ นฐานได้ด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิ ทธิภาพ โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะพยายามปรับเปลี่ยนรู ปแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ได้ประโยชน์มากที่สุด” รองศาสตราจารย์ เภสัชกรสุรกิจ นาฑีสุวรรณ กล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรจตุรงค์ ประเทืองเดชกุล หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า แรกทีเดียวทางภาควิชาฯ ตั้งใจจะให้นักศึกษาได้ศึ กษาจากคลิปวิดีโอการสอนทั้ งหมดก่อน แล้วจึงให้ฝึกปฏิบัติหลั งสถานการณ์ Covid-19 ดีขึ้น แต่เกรงว่านักศึกษาจะไม่ได้รั บความรู้อย่างเต็มที่ จึงได้จัดการเรียนการสอนแบบปฏิ บัติการออนไลน์โดยวิธีการสาธิต (lab demonstration) ที่ให้นักศึกษาได้ลงมือทำไปพร้ อมกับอาจารย์ แล้วประเมินผลโดยให้นักศึกษาส่ งคลิปวิดีโอที่ได้ฝึกทดลอง กลับมายังอาจารย์ผู้สอน
โดยมีการส่งอุปกรณ์การฝึกปฏิบั ติให้นักศึกษาทางไปรษณีย์ รวมทั้งให้นักศึกษาได้ประยุกต์ ใช้จากสิ่งที่หาได้รอบตัว และได้มีการขยายผลรูปแบบการเรี ยนแล็บออนไลน์สู่ภาควิชาอื่นๆ ของคณะฯ ด้วย ซึ่งการศึกษาทางจุลชีววิทยาเป็ นการศึกษาเกี่ยวกับเชื้อจุลชีพ ไม่สามารถจัดส่งได้ทางไปรษณีย์ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตราย เราจึงได้ให้นักศึกษาใช้ตัวช่ วยจากการเตรียมสารสมมุติที่ทำขึ้ นเองง่ายๆ จากการนำเอาแป้งฝุ่นมาผสมน้ำปริ มาณเล็กน้อยเพื่อให้เป็ นสารละลายที่มีความขุ่นใช้ แทนเชื้อจุลชีพจริง และฝึกเทคนิคการเตรียม smear บน glass slide หรือฝึกเทคนิคการ streak plate บนวุ้นในจานเพาะเชื้อพลาสติก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอัญชลี จินตพัฒนากิจ อาจารย์ผู้อำนวยการสอนวิชาปฏิบั ติการเภสัชการ 3 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื้อหาส่วนใหญ่ในการจัดการเรี ยนการสอนจะเป็นการเตรียมตำรั บยาที่นักศึกษาต้องใช้ ในการสอบใบประกอบโรคศิลป์ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในครัวเรื อนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้ งนั้น ไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำที่ สามารถนำมาใช้แทนบีกเกอร์ ตะเกียบหรือหางช้อนที่ สามารถนำมาใช้แทนแท่งคนสารละลาย หรือแม้กระทั่งเจล ซึ่งสามารถเตรียมได้จากวุ้นหรื อเจลาติน ฯลฯ ซึ่งเมื่อนักศึกษาได้กลับเข้ ามาเรียนที่คณะฯ จะได้มาเตรียมตำรับจริงเพื่อดู ขั้นตอนการผสมยาว่า ถ้ามีสารหลายตัวจะมีลำดั บในการเติมอย่างไร ซึ่งการเรียนแล็บออนไลน์จะบอกถึ งเทคนิคพื้นฐานที่นักศึกษาต้ องฝึกทำให้คล่องที่บ้าน โดยมีการกำหนดว่ายาตำรับใดที่นั กศึกษาจะต้องทำเป็น และจะให้นักศึกษาได้กลับมาฝึ กทำซ้ำที่คณะฯ เพื่อใช้ในการสอบใบประกอบโรคศิ ลป์ต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงปัทมพรรณ โลมะรัตน์ หัวหน้าภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า นักศึกษาเภสัชศาสตร์ นอกจากความรู้เรื่องยาแล้ว การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่ องอาหาร ทั้งด้านคุ ณภาพของอาหารและความปลอดภั ยของอาหาร จะทำให้นักศึกษาสามารถดูแลผู้ป่ วย/ประชาชน ดูแลตนเองและคนในครอบครัวได้ แบบองค์รวม โดยจะต้องมีความรู้ความเชี่ ยวชาญด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพอาหาร เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในการเรียนแล็บออนไลน์ได้มี การส่งชุดทดสอบ หรือ test kit ที่หาซื้อได้โดยทั่วไป และมีราคาไม่แพง ให้นักศึกษาได้ทดลองใช้ด้ วยตนเองที่บ้าน เช่น ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีนในอาหาร ซึ่งมักพบมากในถั่วงอกที่ ขายตามท้องตลาดโดยทั่วไป ที่ทำให้ถั่วงอกขาวน่ารับประทาน นักศึกษาสามารถใช้ช้อนที่มีอยู่ แล้วในครัวสับถั่วงอกตัวอย่าง แล้วนำมาทดสอบกับ test kit ที่ทางคณะฯ ส่งไปให้นักศึกษาตัวแทนกลุ่มได้ เปิดกล้องและทดลองทดสอบจริงให้ เพื่อนนักศึกษาในชั้นเรี ยนออนไลน์ได้วิเคราะห์เพื่อให้ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งนักศึกษาจะสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิ ตประจำวันต่อไปได้อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เดิมปีนี้กำหนดให้เป็นปี แรกของหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2563 ที่จะให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เรียนวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ที่ โครงการจัดตั้งสถาบันอุ ทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งปรับจากหลักสูตรเดิมที่จั ดให้เรียนในชั้นปีที่ 3 แต่เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 จึงจำเป็นต้องปรับการเรี ยนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ และจัดกิจกรรมเสริมโดยส่งเมล็ ดพันธุ์พืชสมุนไพรชุมเห็ ดไทยทางไปรษณีย์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองปลูก และเตรียมวัตถุดิบสำหรับการเรี ยนรู้ด้วยตนเอง
พร้อมสังเกตและบันทึกพั ฒนาการของพืชสมุนไพรชนิดดังกล่ าว และแชร์ในชั้นเรียนออนไลน์กั บเพื่อนๆ โดยชุมเห็ดไทยจะงอกภายในหนึ่งสั ปดาห์หลังจากเพาะเมล็ด และโตเต็มที่พร้อมติ ดดอกออกผลในระยะเวลาประมาณหนึ่ งเดือนเศษ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการเรี ยนการสอนที่จัดลำดับเนื้อหา เริ่มจากสัณฐานวิทยาของพืชส่ วนต่างๆ ไปจนถึงกระบวนการระบุชื่อวิ ทยาศาสตร์ของพืชตามหลั กพฤกษศาสตร์ นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้ จากพืชจริงเปรียบเทียบกับเนื้ อหาบรรยายแล้ว การจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ยั งเป็นการจัดกิจกรรมที่ช่วยสร้ างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่ งแวดล้อมให้กับนักศึกษาและเกิ ดความรักธรรมชาติ ซึ่งจะสอดคล้องกับ Environmental Literacy ที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดไว้
อย่างไรก็ดี หลังจากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลายแล้ว นักศึกษาจะสามารถเข้ามาเรียนรู้ พืชสมุนไพรที่โครงการจัดตั้ งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรี รุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมในรูปแบบของ living collection มากกว่า 700 ชนิด เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ด้ านพืชสมุนไพรและสามารถนำความรู้ ไปใช้ในวิชาชีพเภสัชกรรมได้อย่ างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
บทความโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210